เวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ได้เงินคืนเท่าไหร่ มีประกันรถควรรู้

เวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ได้เงินคืนเท่าไหร่ มีประกันรถควรรู้

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า เวนคืนกรมธรรม์รถยนต์ ผ่านหูมาบ้าง เพราะในบางครั้งก็มีเหตุการณ์ที่เราอยากยกเลิกกรมธรรม์จริง ๆ เช่น ขายรถไปแล้วไม่ต้องการมีพันธะผูกพัน ต้องการประกันรถยนต์เจ้าใหม่ที่ให้ความคุ้มครองดีกว่า หรือประกันรถที่ทำไม่ตอบโจทย์ จึงอยากยกเลิกประกันรถยนต์พร้อมกับได้รับเงินคืนกลับมาจำนวนหนึ่ง

รู้ใจพาเจาะลึกการยกเลิกกรมธรรม์ หรือเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ จะมีรายละเอียดที่น่าสนใจอะไรบ้าง เป็นประโยชน์ต่อคุณอย่างไร มาเรียนรู้ไปพร้อมกันได้เลย

เวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ คืออะไร?

“เวนคืนกรมธรรม์รถยนต์” คือการขอยกเลิกกรมธรรม์ที่ได้ทำเอาไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อรับเงินที่จ่ายเบี้ยประกันไปแล้วกลับคืนมาบางส่วน โดยจำนวนเงินที่คุณจะได้รับและเงื่อนไขต่าง ๆ ของแต่ละบริษัทประกันจะมีความแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่จะสามารถเวนคืนตามระยะเวลาที่คุ้มครองไปแล้วคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วลบกับค่าเบี้ยประกันรายปีที่จ่ายไปทั้งหมด และแม้คุณจะแจ้งยกเลิกไปก่อนหน้าแล้ว แต่ถ้ายังไม่ทำเอกสารส่งไปให้ทางบริษัทประกันให้เรียบร้อย ความคุ้มครองนั้นจะยังไม่สิ้นสุด และเงินที่จะได้รับคืนก็จะลดน้อยลง เพราะประกันยังคุ้มครองคุณอยู่


เวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ได้เงินคืนกี่บาท?

การคิดคำนวณเงินคืนที่ได้หลังจากเวนคืนกรมธรรม์ จะเป็นไปตามที่ตารางอัตราคืนเบี้ยประกันกำหนด

  • จำนวนวันประกันภัย 1-9 ได้เงินคืน 72%
  • จำนวนวันประกันภัย 10-19 ได้เงินคืน 68%
  • จำนวนวันประกันภัย 20-29 ได้เงินคืน 65%
  • จำนวนวันประกันภัย 30-39 ได้เงินคืน 63%
  • จำนวนวันประกันภัย 40-49 ได้เงินคืน 61%
  • จำนวนวันประกันภัย 50-59 ได้เงินคืน 59%
  • จำนวนวันประกันภัย 60-69 ได้เงินคืน 56%
  • จำนวนวันประกันภัย 70-79 ได้เงินคืน 54%
  • จำนวนวันประกันภัย 80-89 ได้เงินคืน 52%
  • จำนวนวันประกันภัย 90-99 ได้เงินคืน 50%
  • จำนวนวันประกันภัย 100-109 ได้เงินคืน 48%
  • จำนวนวันประกันภัย 110-119 ได้เงินคืน 46%
  • จำนวนวันประกันภัย 120-129 ได้เงินคืน 44%
  • จำนวนวันประกันภัย 130-139 ได้เงินคืน 41%
  • จำนวนวันประกันภัย 140-149 ได้เงินคืน 39%
  • จำนวนวันประกันภัย 150-159 ได้เงินคืน 37%
  • จำนวนวันประกันภัย 160-169 ได้เงินคืน 35%
  • จำนวนวันประกันภัย 170-179 ได้เงินคืน 32%
  • จำนวนวันประกันภัย 180-189 ได้เงินคืน 30%
  • จำนวนวันประกันภัย 190-199 ได้เงินคืน 29%
  • จำนวนวันประกันภัย 200-209 ได้เงินคืน 27%
  • จำนวนวันประกันภัย 210-219 ได้เงินคืน 25%
  • จำนวนวันประกันภัย 220-229 ได้เงินคืน 23%
  • จำนวนวันประกันภัย 230-239 ได้เงินคืน 22%
  • จำนวนวันประกันภัย 240-249 ได้เงินคืน 20%
  • จำนวนวันประกันภัย 250-259 ได้เงินคืน 18%
  • จำนวนวันประกันภัย 260-269 ได้เงินคืน 16%
  • จำนวนวันประกันภัย 270-279 ได้เงินคืน 15%
  • จำนวนวันประกันภัย 280-289 ได้เงินคืน 13%
  • จำนวนวันประกันภัย 290-299 ได้เงินคืน 12%
  • จำนวนวันประกันภัย 300-309 ได้เงินคืน 10%
  • จำนวนวันประกันภัย 310-319 ได้เงินคืน 8%
  • จำนวนวันประกันภัย 320-329 ได้เงินคืน 6%
  • จำนวนวันประกันภัย 330-339 ได้เงินคืน 4%
  • จำนวนวันประกันภัย 340-349 ได้เงินคืน 3%
  • จำนวนวันประกันภัย 350-359 ได้เงินคืน 1%
  • จำนวนวันประกันภัย 360-366 ได้เงินคืน 0%

ตัวอย่างการคำนวณ

คุณซึ่งเป็นผู้ถือกรมธรรม์ได้ทำประกันภัยรถยนต์ ค่าเบี้ย 25,000 บาท จ่ายค่าเบี้ยประกันไปแล้วเป็นเวลา 1 ปี แต่มีเหตุจำเป็นต้องยกเลิกประกันเพราะขายรถไปแล้ว กรมธรรม์นี้ได้คุ้มครองไปแล้วเป็นเวลา 6 เดือน รวมระยะเวลาการคุ้มครอง 180 วันจนถึงวันที่ยกเลิกประกันรถยนต์ หากความคุ้มครอง 180 วัน ได้เงินคืน 30% แสดงว่า

คุ้มครอง 180 วัน จะได้คืน 30%

ค่าเบี้ยประกัน 25,000 บาท

จะได้รับเงินคืนเท่ากับ 30% x 25,000 = 7,500 บาท

แต่เงื่อนไขและมูลค่าเวนคืนเงินสดของแต่ละกรมธรรม์หรือบริษัทประกันอาจมีความแตกต่างกันออกไป แนะนำให้ศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ก่อนดำเนินการยกเลิกกรมธรรม์

เวนคืนกรมธรรม์ต้องทำอะไรบ้าง?

หากคุณตัดสินใจดีแล้วว่าต้องการยกเลิกกรมธรรม์รถยนต์ จะมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้


ยกเลิกก่อนวันคุ้มครอง กรณีกรมธรรม์ยังไม่ออก

  • ติดต่อบริษัทประกันหรือโบรกเกอร์ เพื่อแจ้งความประสงค์ขอยกเลิกกรมธรรม์
  • แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าจะยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ทะเบียนอะไร ชื่อผู้เอาประกัน และสาเหตุที่ยกเลิก

ยกเลิกหลังจากออกกรมธรรม์แล้ว

  • ติดต่อบริษัทประกันหรือโบรกเกอร์ เพื่อแจ้งความประสงค์ขอยกเลิกกรมธรรม์รถยนต์
  • แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าจะยกเลิกประกันรถยนต์ทะเบียนอะไร ชื่อผู้เอาประกัน และสาเหตุที่ยกเลิก
  • จัดส่งกรมธรรม์ฉบับจริงให้ตัวแทน หรือเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการยกเลิก

ยกเลิกกรณีหลังคุ้มครองไปแล้ว

  • ติดต่อบริษัทประกันหรือโบรกเกอร์ เพื่อแจ้งความประสงค์ขอยกเลิกกรมธรรม์
  • แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าจะยกเลิกประกันรถยนต์ทะเบียนอะไร ชื่อผู้เอาประกัน และสาเหตุที่ยกเลิก
  • เตรียมสำเนาบัตรประชาชน เขียนชื่อขีดคร่อม และระบุว่าต้องการให้ความคุ้มครองสิ้นสุดเมื่อไหร่ แล้วส่งให้กับบริษัทประกัน

เวนคืนกรมธรรม์ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

สำหรับคนที่ต้องการขอเวนคืนกรมธรรม์รถยนต์ สิ่งสำคัญที่จะทำให้ขั้นตอนต่าง ๆ ดำเนินการต่อไปอย่างราบรื่น ก็คือการจัดเตรียมเอกสารให้พร้อมดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้เวนคืน
  • สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร
  • เล่มกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริงที่ต้องการเวนคืน
  • แบบฟอร์มขอใช้สิทธิ์เวนคืนกรมธรรม์ พร้อมลงลายมือชื่อ

เมื่อไหร่ที่ควรยกเลิกกรมธรรม์?

มีอีกหลายคนที่ยังไม่กล้าตัดสินใจหรือยังไม่รู้ว่าเหตุการณ์แบบนี้ ควรยกเลิกกรมธรรม์หรือเปลี่ยนดีไหม จะส่งผลเสียใดหรือเปล่า โดยเฉพาะในตอนที่เจอข้อเสนอที่ดีกว่าจากประกันเจ้าอื่น หากเป็นแบบนี้คุณสามารถขอยกเลิกประกันกับเจ้าเดิมได้ทันที แต่แนะนำว่าควรเปลี่ยนก่อนถึงวันที่กรมธรรม์รถยนต์จะเริ่มคุ้มครองเพราะไม่อย่างนั้นอาจจะเจอกับ “ส่วนต่าง” ที่โดนหักไปมากในช่วงแรกซึ่งก็ไม่ใช่จำนวนที่คุ้มค่าสักเท่าไหร่นัก


นอกจากนี้ในกรณีที่เจ้าของรถเสียชีวิต ขายรถ เปลี่ยนรถคันใหม่ ก็สามารถยกเลิกหรือขอเปลี่ยนกรมธรรม์ได้เช่นกัน ซึ่งแต่ละกรณีก็จะมีขั้นตอนการดำเนินการยกเลิกหรือเปลี่ยนที่แตกต่างกันออกไป แนะนำให้สอบถามจนกว่าจะมั่นใจ แล้วค่อยดำเนินการในขั้นตอนต่อไปจะดีที่สุด

ข้อดีของการเวนคืนกรมธรรม์

การขอเวนคืนกรมธรรม์นอกจากจะช่วยให้คุณได้รับเงินสดคืนมาแล้ว ยังมีข้อดีอีกหลายข้อ ดังนี้

  • หมดพันธะกับกรมธรรม์นั้น ๆ

มีหลายคนที่หลายครั้งตัดสินใจทำประกันไป แต่ได้ขายรถไปแล้ว การยกเลิกกรมธรรม์จะสิ้นสุดพันธะของรถคันนั้น ๆ โดยสมบูรณ์ 

  • เปลี่ยนไปทำกรมธรรม์ใหม่ที่มีสิทธิประโยชน์มากกว่า

ในปัจจุบันประกันรถยนต์มีทางเลือกให้เลือกหลากหลาย เช่น ประกันชั้น 2+ หรือประกันชั้น 3+ ที่ให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป หากประเมินแล้วว่าให้ประโยชน์กับคุณได้มากกว่า ก็คือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่คุ้มค่ามาก ๆ

  • ยกเลิกประกันที่ไม่เหมาะกับตัวเอง

บางครั้งการซื้อประกันรถยนต์ อาจไม่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของใครหลาย ๆ คน เช่น ใช้รถน้อยมาก แทบไม่เอาออกมาใช้เลย แต่กลับซื้อประกันชั้น 1 เต็มปี ก็อาจทำให้ต้องเสียรับค่าเบี้ยประกันที่สูงกว่าความจำเป็น หากยกเลิกแล้วเปลี่ยนมาซื้อกรมธรรม์รถยนต์ที่ตอบโจทย์ได้มากกว่า เหมาะกับตัวรถ หรือลักษณะการใช้งานจะช่วยให้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เบาลงไป

ข้อสังเกตของการเวนคืนกรมธรรม์

แม้ว่าการขอเวนคืนกรมธรรม์จะมีข้อดีตามที่เราบอกไปเมื่อข้างต้น แต่ก็มีข้อสังเกตที่คุณควรรู้ด้วยเช่นกัน ซึ่งข้อสังเกตที่ว่าก็มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ขั้นตอนอาจยุ่งยากเสียเวลา

การยกเลิกประกันรถยนต์ มีขั้นตอนที่ซับซ้อน เอกสารยุ่งยากพอสมควร ไม่ใช่แค่การโทรไปขอยกเลิกแล้วจะจบ ข้อสังเกตที่ต้องตระหนักสักหน่อยคือ ระยะเวลาที่เหลือของกรมธรรม์รถคุณเหลือมากน้อยแค่ไหน หากเหลือไม่กี่เดือนแล้วจะขายรถพอดี อาจนำส่วนของประกันรถที่เหลือนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งในการต่อรองซื้อขายรถของคุณก็ได้

  • ได้รับความคุ้มครองที่ไม่ครอบคลุม

แม้ว่าการยกเลิกกรมธรรม์เพื่อเปลี่ยนไปซื้อกรมธรรม์รถยนต์ที่ค่าเบี้ยถูกลง แน่นอนว่าความคุ้มครองก็จะไม่ครอบคลุมเท่าเดิม โดยเฉพาะคนที่ขอเลิกประกันชั้น 1 ไปซื้อประกันชั้นอื่นที่รองลงมา แนะนำให้เปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ ให้ดีก่อน

  • อาจมีช่วงเวลาที่รถไม่มีประกันคุ้มครอง

การขอเวนคืนกรมธรรม์เมื่อเราระบุวัน-เวลาที่ยกเลิกความคุ้มครองแล้ว ต้องวางแผนหาประกันใหม่ดี ๆ ไม่งั้นอาจมีช่วงเวลาที่ไม่มีประกันคุ้มครองรถเลย แล้วหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาในช่วงนั้น คุณจะไม่สามารถเคลมประกันได้เลย ค่าซ่อมรถ ค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบผู้บาดเจ็บคุณต้องออกเองทั้งหมดจากที่เคยมีประกันมาคุ้มครองตามทุนประกันที่ทำไว้

เป็นยังไงกันบ้าง สำหรับข้อดีและข้อสังเกตของการขอเวนคืนกรมธรรม์ ที่เรานำมาบอกต่อคุณเมื่อข้างต้น นับว่าเป็นแนวทางที่คุณสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามควรศึกษารายละเอียด เงื่อนไขให้ดีก่อนตัดสินใจ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองให้ได้มากที่สุด


ไม่ว่าคุณจะต้องการขอเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ขั้นตอนการดำเนินการไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด เพียงเตรียมเอกสารให้พร้อม ก็สามารถขอรับเงินคืนได้เลย แต่ระยะเวลาและจำนวนเงินคืนขึ้นอยู่กับ “เงื่อนไข” ของแต่ละบริษัท ควรสอบถามให้เข้าใจก่อนตัดสินใจยกเลิกทุกครั้ง ไม่อย่างนั้นอาจทำให้คุณเสียสิทธิ หรือเสียผลประโยชน์บางอย่างไปอย่างน่าเสียดาย

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ www.roojai.com หรือผ่านช่องออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook Page: Roojai หรือ LINE Official ที่ @roojai ได้เลย

หมายเหตุ : เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด ผู้ซื้อกรุณาศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครองกรมธรรม์ก่อนตัดสินใจซื้อประกัน

...

สินค้ามาแรงสินค้ามาแรง

E-Voucher 1แถม1 เมก้าไก่ป๊อป ฟรี เมก้าฟรายส์ โปเตโต้ คอร์เนอร์ MEGA ChickenPop FREE MEGA Fries Potato Corner

E-Voucher 1แถม1 เมก้าไก่ป๊อป ฟรี เมก้าฟรายส์ โปเตโต้ คอร์เนอร์ MEGA ChickenPop FREE MEGA Fries Potato Corner

ถูกลง44%

115204